บทความ

หรุ่ม

รูปภาพ
หรุ่ม หรุ่ม แค่ฟังชื่อก็ว่าแปลกแล้ว พอเห็นหน้าตาก็ยิ่งแปลกไปกันใหญ่ จะว่าไปแล้วเมนูนี้ก็คล้ายกับไข่ยัดไส้ ต่างกันตรงไข่ที่ใช้ห่อไส้นั้นมีรูปร่างเป็นตาข่ายนั่นเอง โดยหรุ่มจัดเป็นอาหารโบราณชนิดหนึ่งที่คนสมัยนี้ไม่รู้จักแล้ว (เดาเอานะคะ) จุดเด่นของเมนูนี้ก็คือ ตัวไส้ ซึ่งจะมีกลิ่นที่หอม และมีรสเค็มนิด หวานหน่อย แถมเป็นเมนูที่กินเล่นได้ กินกับข้าวก็ดีเช่นกัน 

หมูโสร่ง

รูปภาพ
หมูโสร่ง เป็นอาหารว่างหน้าตาคล้ายลูกตะกร้อ แต่รสชาติแสนอร่อย วิธีทำนั้นไม่ยุ่งยากเท่าไรนัก แต่คนทำเมนูนี้ต้องอาศัยความใจเย็นอยู่ไม่น้อยค่ะ เพราะต้องมีความพิถีพิถันในการนำหมี่ซั่วลวกพันรอบหมูสับปรุงรสที่ปั้นเป็นก้อนนั่นเองค่ะ พูดแล้วก็น้ำลายสอ

แสร้งว่า

รูปภาพ
แสร้งว่า “แสร้งว่า” เป็นชื่ออาหารชาววังชนิดหนึ่ง โดยเมนูแสร้งว่านี้มีจุดเด่นที่การปรุงน้ำยำ จะหอมกลิ่นน้ำของมะกรูด และตะไคร้ เป็นการปรุงผสมผสานระหว่างสมุนไพรไทยให้มีรสชาติที่เข้ากัน และกลมกล่อม แฝงไว้ซึ่งความร้อนแรง ส่วนผสมของยำแบบไทย เมนูแสร้งว่าถูกจัดอยู่ในหมวดเครื่องจิ้ม ส่วนใหญ่แล้วจะกินกับผักสด และเครื่องเคียงต่างๆ

แกงรัญจวน

รูปภาพ
เเกงรัญจวน ที่ได้ชื่อว่าแกงรัญจวนนั้น ก็เพราะว่าเป็นชื่อ เมนูอาหาร ชาววัง โดยหม่อมหลวงเนื่อง นิลรัตน์ และยังเป็นผู้ที่คิดค้นสูตรของอาหารไทยนี้ด้วยตนเอง ซึ่งความหมายของแกงรัญจวนได้อธิบายไว้ว่า ในสมัยก่อนนั้นเป็นอาหารที่ทำขึ้นเพื่อให้เจ้านายแต่ละพระองค์เสวย ด้วยกลิ่นหอมของน้ำซุปที่ใส่น้ำพริกกะปิลงไปด้วย จึงเป็นที่มาของความหอมรัญจวนนั่นเองค่ะ โดยปกติแล้วจะใช้เนื้อเป็นวัตถุดิบหลัก แต่ถ้าใครไม่กินเนื้อก็สามารถประยุกต์ใช้วัตถุดิบอย่างอื่นได้ เช่น หมู ไก่ หรืออาหารทะเลได้ตามชอบค่ะ

เเกงฟักทอง

รูปภาพ
เเกงฟักทอง เเกงฟักทอง นำวัตถุดิบทั้งหมด มาล้างให้สะอาด เริ่มฝานเปลือกฟักทองออก แล้วหั่นเปนชิ้นๆ ตามด้วยหั่นเนื้อหมูขนาดพอประมาณ   ตั้งหม้อใส่กะทิลงไป เปิดไฟกลางๆรอกะทิแตกมันใส่พริกแกงลงไปสักพักตามด้วยเนื้อหมู เนื้อเริ่มสุก ใส่ฟักทองลงไป เติมน้ำเปล่าประมาณ 1 ถ้วยตวง รอเดือด   ส่เครื่องปรุงลงไป ตามด้วยพริกแดงซอยยาว และใบมะกรูดฉีก     รอสักพักเมื่อฟักทองเริ่มสุก ชิมรสชาติ ใส่ใบโหระพา ปิดไฟ    

ส้มตำถาด

รูปภาพ
ต้มตำถาด ส้มตำ   เป็นอาหารปรุงมาจากการทำตำส้ม คือการทำให้เปรี้ยว ในลาวจะเรียกว่า ตำหมากหุ่ง  ปรุงโดยนำ มะละกอ ดิบที่สับแล้วฝานหรือขูดเป็นเส้นมาตำใน ครก เป็นหลัก พร้อมด้วยวัตถุดิบอื่นๆ คือ  มะเขือเทศ ลูกเล็ก มะเขือสีดา มะเขือเปราะ  พริก สดหรือพริกแห้ง ถั่วฝักยาว  กระเทียม  และปรุงรสด้วย น้ำตาลปี๊บ และ น้ำปลา  มะนาว อนึ่ง ส้มตำไม่ใช่ อาหาร ดั้งเดิมของ ชนชาติลาว ตามที่คนลาวบางส่วนเข้าใจกัน เพราะเครื่องปรุงหลายอย่าง ทั้งมะละกอ พริก ได้รับมาจากต่างประเทศโดยทางเรือในสมัยโบราณ ส่วนน้ำปลาต้องใช้ปลาทะเลในการทำ และคำเรียกส้มตำในลาวคือตำหมากหุ่งส่วนในไทยเรียกส้มตำ

ผัดไทย

รูปภาพ
ผัดไทย ผัดไทย   ผัดไทยเป็นอาหารที่ได้รับอิทธิพลจากอาหารจีน [4]   เดิมเรียกอาหารชนิดนี้ว่า "ก๋วยเตี๋ยวผัด" และได้รับการเปลี่ยนแปลงด้านรสชาติใหม่ตามอย่างอาหารไทยมากขึ้นในเวลาต่อมา ผัดไทยได้กลายเป็นที่รู้จักของคนต่างชาติในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม  นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นซึ่งเป็นช่วงเดียวกับ สงครามโลกครั้งที่ 2  ท่านได้รณรงค์ให้ประชาชนหันมานิยมรับประทาน ก๋วยเตี๋ยว  เพื่อลดการบริโภคข้าวภายในประเทศ [5]  เนื่องจากในช่วงนั้นสภาวะเศรษฐกิจของประเทศตกต่ำ ข้าวแพง [6]  โดยท่านได้กล่าวเอาไว้ว่า "อยากให้พี่น้องกินก๋วยเตี๋ยวให้ทั่วกัน เพราะก๋วยเตี๋ยวมีประโยชน์ต่อร่างกาย มีรสเปรี้ยว เค็ม หวานพร้อม ทำเองได้ในประเทศไทย หาได้สะดวกและอร่อยด้วย หากพี่น้องชาวไทยกินก๋วยเตี๋ยวคนละหนึ่งชามทุกวัน วันหนึ่งจะมีคนกินก๋วยเตี๋ยวสิบแปดล้านชาม ตกลงวันหนึ่งค่าก๋วยเตี๋ยวของชาติไทยหนึ่งวันเท่ากับเก้าสิบล้านสตางค์เท่ากับเก้าแสนบาท เป็นจำนวนเงินหมุนเวียนมากพอใช้ เงินเก้าแสนบาทนั้นก็จะไหลไปสู่ชาวไร่ ชาวนา ชาวทะเลทั่วกันไม่ตกไปอยู่ในมือใครคนหนึ่งคนใดเพียงคนเดียว และเงินหนึ่งบาทก็...